วิวัฒนาการประเภทสหกรณ์ประเทศไทย


         
ครั้งที่ 1   พ.ศ.2459               ออกตามความในพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459 
 
            มีจำนวน 1 ประเภท   เนื่องจากส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์หาทุนเพียงประเภทเดียว

          (1)  ประเภทสหกรณ์หาทุน
 
 
ครั้งที่  2    พ.ศ.2494
            ออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471  
 
            มาตรา 6 กำหนดให้เสนาบดีประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นคราวๆ ว่าจะยอมรับจดทะเบียนสหกรณ์ชนิดใดและประเภทใดบ้าง ซึ่งในระยะแรกได้กำหนดให้มีประเภทสหกรณ์จำนวน 8 ประเภท เพราะการจัดตั้งสหกรณ์หาทุนประสบความสำเร็จ จึงได้ขยายการส่งเสริมสหกรณ์ประเภทอื่นๆ

            (1)  สหกรณ์หาทุน (เอกประสงค์)
            (2)  สหกรณ์เช่าซื้อที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (เอกประสงค์)
            (3)  สหกรณ์นิคมกสิกรรม (เอกประสงค์)
            (4)  สหกรณ์ผู้บริโภคหรือร้านสหกรณ์ (เอกประสงค์)
            (5)  สหกรณ์ขายข้าวและพืชผล (เอกประสงค์)
            (6)  สหกรณ์บำรุงที่ดิน (สหกรณ์ชลประทาน) (เอกประสงค์)
            (7)  สหกรณ์หาทุนและบำรุงที่ดิน (เอนกประสงค์)
            (8)  สหกรณ์อุตสาหกรรมในครัวเรือน (เอกประสงค์)
ครั้งที่  3    พ.ศ.2505                ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471
            มีจำนวน 20 ประเภท จาก 3 กลุ่มสหกรณ์หลัก เนื่องจากประชาชนมีความต้องการจัดตั้งสหกรณ์หลายประเภทมากขึ้น
            (1)  กลุ่มสหกรณ์ธนกิจ (สหกรณ์การเงิน) ประกอบด้วยสหกรณ์ 4 ประเภท  คือ  สหกรณ์หาทุน  สหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรม  สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตสำหรับคนมีเงินเดือน  และธนาคารสหกรณ์จังหวัด (ชุมชนสหกรณ์การเงินระดับจังหวัด)
 
            (2)  กลุ่มสหกรณ์ที่ดิน  (สหกรณ์เพื่อการจัดหาที่ดินเกษตรกรรม  และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ  สำหรับเกษตรกร)  ประกอบด้วยสหกรณ์ 6 ประเภท  คือ  สหกรณ์บำรุงที่ดิน สหกรณ์นิคมกสิกรรม สหกรณ์นิคมเกลือ  สหกรณ์ (นิคม)  การประมง  สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน  และสหกรณ์ผู้เช่าที่ดิน
 
            (3)  กลุ่มสหกรณ์พาณิชย์  ประกอบด้วยสหกรณ์ 10 ประเภท  คือ  สหกรณ์ขายข้าว  สหกรณ์ขายพืชผลและผลิตผล  สหกรณ์ขายเกลือ  สหกรณ์ผู้บริโภค (สหกรณ์ร้านค้า)  สหกรณ์อุตสาหกรรม  สหกรณ์บริการ-สาธารณูปโภค  สหกรณ์บำรุงและค้าสัตว์  สหกรณ์ประมงและสหกรณ์ประมงกลาง  สหกรณ์รูปอื่น (เบ็ดเตล็ด)  และชุมชนสหกรณ์ขายข้าวและพืชผล
ครั้งที่  4  กฎกระทรวง (พ.ศ.2511)
             ออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 

            มีจำนวน 8 ประเภท โดยกฎหมายบัญญัติให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นคราวๆ ว่าจะรับจดทะเบียนสหกรณ์ประเภทใดในท้องที่ใด รวมทั้งอาชีพของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสหกรณ์แต่ละประเภท ทำให้จำนวนประเภทลดจาก 20 ประเภทเหลือจำนวน 8 ประเภท
            (1)  สหกรณ์การธนกิจ  (มาจากสหกรณ์หาทุน  สหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรม  สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตชุมชน  สหกรณ์ธนกิจเดิม) 
            (2)  สหกรณ์การซื้อ  (มาจากร้านสหกรณ์  และสหกรณ์ขายส่งแห่งประเทศไทยเดิม)                       
            (3)  สหกรณ์การขาย  (มาจากสหกรณ์ขายข้าว  สหกรณ์ขายพืชผล  สหกรณ์ขายเกลือ  สหกรณ์บำรุงและค้าสัตว์  สหกรณ์ประมงกลาง  สหกรณ์ประมงเดิม)
            (4)  สหกรณ์บริการ  (มาจากสหกรณ์บริการสาธารณูปโภค  สหกรณ์อุตสาหกรรม  สหกรณ์เดินรถ  และสหกรณ์เคหสถานเดิม)                       
            (5)  สหกรณ์การเช่าที่ดิน  (มาจากสหกรณ์เช่าที่ดินเกษตรกรรมเดิม)
            (6)  สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน  (มาจากสหกรณ์ผู้เช่าซื้อที่ดินเกษตรกรรมเดิม)       
            (7)  สหกรณ์นิคม  (มาจากสหกรณ์กสิกรรม  สหกรณ์นิคมฝ้าย  สหกรณ์นิคมเกลือ  และสหกรณ์นิคมประมงเดิม)
            (8)  สหกรณ์อเนกประสงค์  (มาจากสหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรมเดิม)
ครั้งที่  5   กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2516)               ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 
            มีจำนวน 6 ประเภท เนื่องจากข้อจำกัดของความหมายสหกรณ์แต่ละประเภทก่อให้เกิดปัญหาไม่สะดวกในทางปฏิบัติ จึงเปลี่ยนประเภทสหกรณ์ใหม่ให้มีจำนวน 6 ประเภท โดยยึดวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ รวมทั้งอาชีพหรือกิจกรรมหลักของสมาชิกในการแบ่งประเภท 
            (1)  สหกรณ์การเกษตร: ดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์  มีสมาชิกทั้งหมดเป็นเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
            (2)  สหกรณ์ประมง: ดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์ มีสมาชิกทั้งหมดเป็นชาวประมง  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนชาวประมง       
            (3)  สหกรณ์นิคม: ดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์  มีสมาชิกทั้งหมดเป็นเกษตรกรหรือชาวนาเกลือ มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการเกี่ยวกับการถือครองที่ดินทำกินของสมาชิกสหกรณ์
            (4)  สหกรณ์ร้านค้า: ดำเนินธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง มีสมาชิกได้หลากหลายอาชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค
            (5)  สหกรณ์บริการ: ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าหรืออำนวยบริการให้แก่สมาชิกผู้ใช้บริการโดยตรง 
            (6)  สหกรณ์ออมทรัพย์: ดำเนินธุรกิจเอนกประสงค์  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการออมทรัพย์และให้สินเชื่อแก่สมาชิก  สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจะรวมอยู่ในประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์
ครั้งที่  6   กฎกระทรวง (พ.ศ.2548)                ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542
            มีจำนวน 7 ประเภท เนื่องจากสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลัง จึงทำให้ต้องแยกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนออกมา เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์
            (1)  สหกรณ์การเกษตร: ดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์  มีสมาชิกทั้งหมดเป็นเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
            (2)  สหกรณ์ประมง: ดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์ มีสมาชิกทั้งหมดเป็นชาวประมง  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนชาวประมง       
            (3)  สหกรณ์นิคม: ดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์  มีสมาชิกทั้งหมดเป็นเกษตรกรหรือชาวนาเกลือ มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการเกี่ยวกับการถือครองที่ดินทำกินของสมาชิกสหกรณ์
            (4)  สหกรณ์ร้านค้า: ดำเนินธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง มีสมาชิกได้หลากหลายอาชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค
            (5)  สหกรณ์บริการ: ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าหรืออำนวยบริการให้แก่สมาชิกผู้ใช้บริการโดยตรง 
            (6)  สหกรณ์ออมทรัพย์: ดำเนินธุรกิจเอนกประสงค์  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการออมทรัพย์และให้สินเชื่อแก่สมาชิก
            (7)  สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน: ดำเนินธุรกิจเอนกประสงค์  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการออมทรัพย์ของสมาชิกในชุมชน รวมทั้้งช่วยเหลือในการรวบรวมผลิตภัณฑ์หรือจำหน่ายสิ่งของให้แก่บรรดาสมาชิก